แบงค์ 20 บาท
แบงค์ 20 บาท แบบที่11
ธนบัตรแบบ 11 เป็นธนบัตรชุดแรกที่ผลิตขึ้นโดยโรงพิมพ์ธนบัตรของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2512 ในช่วงแรกของการออกแบบและผลิตแม่พิมพ์ธนบัตรยังให้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศช่วยดำเนินการ เป็นธนบัตรแบบที่มีเอกลักษณ์ความเป็นไทยมากขึ้น ด้วยการนำลายไทย สถาปัตยกรรมไทย ซึ่งมีลักษณะโดดเด่นเป็นศิลปะประจำชาติมาเป็นองค์ประกอบสำคัญของธนบัตร นอกจากนี้ ยังมีลักษณะสำคัญคือ ภาพประกอบด้านหน้ามีความสัมพันธ์กับภาพประธานด้านหลัง
ธนบัตร 20 บาท แบบ 11 นี้ถูกประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 3 มิ.ย. 2514 และเริ่มจ่ายแลกเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2514 ขนาดธนบัตร 7.25 x 14.00 เซนติเมตร
ธนบัตรด้านหน้า สีหลักของธนบัตรเป็นสีเขียว มีภาพประธานเป็นพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์รัชกาลที่ 9 ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์อยู่ตรงกลางขวา มีรูปพระครุฑพ่าห์อยู่ตรงมุมบนซ้าย และมีคำว่า รัฐบาลไทย อยู่ตรงกลาง เว้นที่ว่างด้านซ้ายล่างเป็นลายน้ำ
ธนบัตรด้านหลัง ภาพประธานคือภาพเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช
แบงค์ 20 บาทแบบ 12
ธนบัตร 20บาทแบบ 12 เป็นธนบัตรที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแผ่พระเกียรติคุณของ สมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าที่ได้รับการถวายพระราชสมัญญาภิไธย "มหาราช" จึงได้เชิญพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการเทิดพระเกียรติดังกล่าว
ธนบัตรด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ธนบัตรด้านหลัง พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ สวนสาธารณะทุ่งนาเชย จ. จันทบุรี ขนาด 7.20 x 13.80 เซนติเมตร
ประกาศออกใช้ ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2524
วันออกใช้ วันที่ 28 ธันวาคม 2524
แบงค์ 20 บาท แบบ 15
ธนบัตร 20 บาท แบบ 15 ธนบัตรแบบนี้ยังคงมีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีที่ทรงพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ และเป็นแบบที่เริ่มปรับขนาดความกว้างของธนบัตรให้เท่ากันทุกชนิดราคา เพื่อความสะดวกในการพกพา
ธนบัตรด้านหน้า พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเครื่องแบบจอมทัพ
ธนบัตรด้านหลัง พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ภาพพระราชกรณียกิจเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินที่สำเพ็ง และภาพสะพานพระราม 8
ขนาด 7.20 x 13.80 เซนติเมตร
ประกาศออกใช้ ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2546
วันออกใช้ วันที่ 3 มีนาคม 2546
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น